วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธ์ทางการเรียน

ในการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีขั้นตอนในการดำเนินการดังต่อไปนี้(การสร้างข้อสอบ)
ขั้นตอนที่1 กำหนดจุดมุ่งหมาย (เป็นการระบุว่าจะสอบไปทำไม สอบอะไรและสอบอย่างไร)แบ่งเป็น3ขั้นตอนได้แก่
1.1การวิเคราะห์จุดมุ่งหมาย (เป็นการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของหลักสูตรจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ต้องการวัด
พฤติกรรมที่ต้องการวัดได้แก่
* พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เช่นความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
* พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
* พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psycho-motor-Domain))
1.2วิเคราะห์เนื้อเรื่องและเรียงลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา (เป็นการวิเคราะห์เพื่อแยกแยะเนื้อหาและจัดรวมเป็นหน่วยย่อยๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน และมีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามลำดับการสอนก่อน-หลัง)
1.3การกำหนดตารางวิเคราะห์หลักสูตร/ตารางวิเคราะห์ข้อสอบ(ในขั้นตอนนี้ครูผู้สอนกำหนดตารางวิเคราะห์หลักสูตรซึ่งเป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาและพฤติกรรมที่มุ่งวัดโดยมีขั้นตอนย่อย3ขั้นตอนคือ
1การกำหนดระดับความสำคัญเป็นรายบุคคล (ครูผู้สอนในรายวิชาเดียวกันร่วมกำหนดระดับความสำคัญของเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด-หากสอนคนเดียวก็กำหนดคนเดียว)
2การแปลงน้ำหนักความสำคัญจากรายบุคคลเป็นรายวิชา (หลังจกที่ครูผู้สอนในรายวิชาเดียวกันกำหนดระดับความสำคัญของแต่ละคนเรียบร้อยแล้ว ห้นำคะแนนในแต่ละช่องทั้งในแนวแถวและแนวคอลัมน์มาหาผลรวม เช่น ผลรวมของเนื้อหาที่ 1ที่วัดพฤติกรรมความรู้ความจำ เป็นต้น)
3การแปลงน้ำหนักความสำคัญให้เป็นตาราง100 (เป็นการแปลงคะแนนน้ำหนักความสำคัญจากขั้นตอนที่ 2)ในช่องรวมทั้งทางแนวคอลัมน์และแนวแถวให้เป็น100)
การจัดตารางวิเคราะห์หลักสูตร/ตารางวิเคราะห์ข้อสอบนี้ ครูผู้สอนสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการออกข้อสอบได้ถือเป็นการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบในเรื่องความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ด้วย กล่าวคือ ทำให้ครูผู้สอนแน่ใจว่าได้ออกข้อสอบได้ครอบคลุมตามเนื้อหาที่สอน
ขั้นตอนที่2 การออกแบบการสร้างแบบสอบ
2.1 การวางแผนการทดสอบ (ผู้สอนวางแผนกำหนดการทดสอบ โดยวางแผนว่าใน 1 ภาคเรียนจะทำการทดสอบกี่ครั้ง ระยะความถี่ห่างในแต่ละครั้งเป็นเท่าใด )
2.2 กำหนดรูปแบบของแบบสอบและจำนวนข้อสอบ(ผู้สอนเลือกประเภทแบบสอบที่จะใช้โดยเลือกให้เหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการวัดและเนื้อหาที่จะสอบ และกำหนดจำนวนข้อสอบที่จะใช้ในการสอบ)
ขั้นตอนที่3 เขียนข้อสอบ (ผู้สอนดำเนินการเขียนข้อสอบ ตามเนื้อหาและพฤติกรรมที่มุ่งวัด)
หลังจากที่ผู้สอนดำเนินการร่างข้อสอบไปครบตามจำนวนและครอบคลุมพฤติกรรมเนื้อหาตามตารางวิเคราะห์ข้อสอบแล้วให้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบเบื้องต้น คือ
1.ผู้สอนตรวจสอบด้วยตนเองในประเด็นความสมเหตุสมผล ความชัดเจนของภาษาที่ใช้
2.เพื่อนครูผู้สอนร่วมตรวจสอบคุณภาพในส่วนของความครอบคลุมตามตารางวิเคราะห์ข้อสอบ และความชัดเจนของภาษาที่ใช้
หลังจากที่ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ให้รวมข้อสอบเป็นฉบับ แล้วจึงนำไปสอบกับผู้เรียน
ขั้นตอนที่4 การวิเคราะห์ข้อสอบ (เป็นการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบที่สร้างขึ้นโดยในการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบนั้นจะดำเนินการตรวจสอบค่าความยากและค่าอำนาจจำแนก)
ในการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อจะเป็นการตรวจสอบค่าความยาก(Item Difficulty: p) และค่าอำนาจจำแนก (Power of Discrimination: r) โดย
* ค่าความยาก หมายถึง สัดส่วนผู้ที่ตอบข้อสอบข้อนั้นได้ถูกต้อง
* ค่าอำนาจจำแนก หมายถึง ความสามารถของข้อสอบในการจำแนกคนเก่งออกจากคนอ่อน จำแนกคนรู้ออกจากคนไม่รู้ได้
ขั้นตอนที่5 (หลังจากการสอบและตรวจให้คะแนนเรียบร้อยแล้วผู้สอนควรจัดทำรายงานผลการสอบเพื่อแจ้งให้กับผู้เรียน ทั้งนี้ในการรายงานผลควรรายงานคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนเต็ม จำนวนผู้เข้าสอบ จำนวนผู้สอบผ่านและไม่ผ่าน เป็นต้น และควรรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบรายข้อด้วย ว่ามีข้อสอบจำนวนเท่าใดที่มีความยากและค่าอำนาจจำแนกผ่านเกณฑ์ซึ่งจะสามารถนำไปเก็บไว้ในคลังข้อสอบได้)

รายการอ้างอิง
พิชิต ฤทธฺจรูญ.2545.หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์
ศิริชัย กาญจนวาสี.2548.ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม(Classical Teat Theory).พิมพ์ครั้งที่5.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น: