วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)


ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases)

ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)

แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง

สาเหตุ
ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน เราต่างทราบดีถึงผลกระทบบางอย่างของภาวะโลกร้อน เช่น การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง การแพร่ระบาดของโรคร้ายต่างๆ อุทกภัย ปะการังเปลี่ยนสีและการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ประเทศตามแนวชายฝั่ง ประเทศที่เป็นเกาะ และภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียอาคเนย์

จากการทำงานของคณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติ ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีองค์การวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เฝ้าสังเกตผลกระทบต่างๆ และได้พบหลักฐานใหม่ที่แน่ชัดว่า จากการที่ภาวะโลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ 1.4-5.8 องศาเซลเซียส

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่ ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม และการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน

ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ มีโครงการพลังงานต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น และการดำเนินงานของโครงการเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยาอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงได้เปลี่ยนแปลงไป การบุกรุกและทำลายป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศน์วิทยาตามแนวชายฝั่ง และจากการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนสีของน้ำทะเล ดังนั้น แนวปะการังต่างๆ จึงได้รับผลกระทบและถูกทำลายเช่นกัน

ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีชายฝั่งทะเล ที่มีความยาวประมาณ 2,490 กิโลเมตร และเป็นแหล่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และความไม่แน่นอนของฤดูการที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม มีการคาดการณ์ว่า หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 1 เมตรภายในทศวรรษหน้า หาดทรายและพื้นที่ชายฝั่งในประเทศไทยจะลดน้อยลง สถานที่ตากอากาศชายทะเล รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พัทยา และ ระยองจะได้รับผลกระทบโดยตรง แม้แต่กรุงเทพมหานคร ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนี้เช่นกัน

ปัญหาด้านสุขภาพ ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของยุ่งมากขึ้น ซึ่งนำมาสู่การแพร่ระบาดของไข้มาเลเรียและไข้ส่า นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น อหิวาห์ตกโรค ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น คนยากจนเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบกับการให้ความรู้ในด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี ยังมีไม่เพียงพอ
ปัจจุบันนี้สัญญาณเบื้องต้นของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ปรากฏขึ้นอย่างแจ้งชัด ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลมากขึ้น หรือ มีความรู้ในการแก้ไขมากขึ้น ซึ่ง ณ เวลานั้นก็อาจสายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขได้

ที่มา :
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/usa_s/global_warming/index.html

ความเป็นมาวันสิ่งแวดล้อมโลก

ความตื่นตัวในวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อรัฐบาลสวีเดนได้เสนอต่อองค์การสหประชาชาติถึงวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยวิกฤตการณ์ต่าง ๆ คือ
· การขาดแคลนอาหาร
· วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน
· อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมาก
· ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก
ดังนั้นองค์การสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดนจึงได้จัดการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" (UN CONFERENCE ON THE HUMAN ENVIRONMENT) ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่าง ๆ รวมทั้งแผนการดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์

ในการประชุมครั้งนี้มีผู้ร่วมเข้าประชุมถึง 1,200 คน จาก 113 ประเทศ นอกจากนั้น ยังมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์การสหประชาชาติ สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ และตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก ซึ่งผลการประชุมนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังคุกคามโลกของเรา และมีการตกลงที่จะร่วมมือในด้านต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือ องค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP : UNITED NATIONS ENVIRONMENT PROGRAMME) ขึ้น และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น จัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในปีเดียวกัน

ดังนั้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงจุดเริ่มต้น ของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม วันที่ 5 มิถุนายน อันเป็นวันเริ่มการประชุม ครั้งยิ่งใหญ่นี้ จึงได้รับประกาศให้เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" (WORLD ENVIRONMENT DAY)

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

กิจกรรมชุมนุมโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา

ความหมาย
กิจกรรมชุมนุม หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความถนัด ความสนใจ ตามความต้องการของผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการเติมเต็มความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อการค้นพบความถนัดความสนใจของตนเอง และพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ ตลอดจนการพัฒนาทักษะของสังคม และปลูกฝังจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม

หลักการ
การจัดกิจกรรมชุมนุม มีหลักการที่สำคัญคือ
1. เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความสมัครใจของผู้เรียน โดยมีครูเป็นที่ปรึกษา
2. เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และช่วยกันแก้ปัญหา
3. เป็นกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนตามสาระที่กำหนดนอกเหนือจากการเรียนการสอน
4. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
5. เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา หรือท้องถิ่น

วัตถุประสงค์
การจัดกิจกรรมชุมนุม มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. พัฒนาความรู้ ความสามารถ ด้านการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้เกิดทักษะประสบการณ์ ทั้งวิชาการและวิชาชีพตามศักยภาพ
2. มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
3. มีสุขภาพและบุคลิกภาพทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดี
4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
5. มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระบอบประชาธิปไตย

พฤติกรรมบ่งชี้ และเป้าหมาย
จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว สามารถกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้หรือตัวชี้วัดและเป้าหมายการจัดกิจกรรมได้ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์ : พัฒนาความรู้ ความสามารถ ด้านการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้เกิดทักษะ ทั้งประสบการณ์และวิชาชีพตามศักยภาพ
พฤติกรรมบ่งชี้/ตัวชี้วัด :
1.1 มีการจัดทำโครงงาน/ ผลงาน/ชิ้นงาน
1.2 เกิดทักษะการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา
1.3 มีทักษะการวางแผนและการจัดการ
1.4 รู้เข้าใจความสนใจความถนัดและศักยภาพของตน
1.5 ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้อง
1.6 มีจินตนาการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เป้าหมายการจัดกิจกรรม : ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้และทักษะจนเกิดเป็นโครงงาน ผลงาน ชิ้นงานตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

วัตถุประสงค์ : มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
พฤติกรรมบ่งชี้ / ตัวชี้วัด :
2.1 มีกิริยามารยาทที่ดี
2.2 มีระเบียบวินัย
2.3 มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
2.4 มีความซื่อสัตย์สุจริต
2.5 มีสัมมาคารวะอ่อนน้อมถ่อมตน
2.6 มีความสามัคคี
2.7 มีน้ำใจต่อครู เพื่อนและผู้อื่น
2.8 รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
2.9 ตรงต่อเวลา
2.10 อนุรักษ์ พัฒนาและรักษาสมบัติของโรงเรียน
เป้าหมายการจัดกิจกรรม : ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม ที่พึงประสงค์เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้

วัตถุประสงค์ : มีสุขภาพและบุคลิกภาพด้านร่างกายและจิตใจที่ดี
พฤติกรรมบ่งชี้ /ตัวชี้วัด :
3.1 รู้จักการรักษาสุขภาพส่วนตัว
3.2 ร่าเริงแจ่มใส มีความมั่นคงทางอารมณ์
3.3 อดทน อดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุ
3.4 มีสมาธิต่อการทำงาน
3.5 มีสุนทรียภาพทางอารมณ์
เป้าหมายการจัดกิจกรรม : ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี และดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์ : ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
พฤติกรรมบ่งชี้ / ตัวชี้วัด :
4.1 บำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม
4.2 ใช้เวลาที่มีให้เกิดประโยชน์
เป้าหมายการจัดกิจกรรม : ผู้เรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม

วัตถุประสงค์ : มีมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระบอบประชาธิปไตย
พฤติกรรมบ่งชี้ / ตัวชี้วัด :
5.1 มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5.2 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
5.3 เคารพในกฎ กติกาของกลุ่มและสังคม
5.4 รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
เป้าหมายการจัดกิจกรรม : ผู้เรียนสามารทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

การบริหารงาน
การบริหารงานการจัดกิจกรรมชุมนุม ให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายของหลักสูตร มีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
1. ประเภทของกิจกรรมชุมนุม การจัดการกิจกรรมชุมนุมของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา ได้แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้
ก. กิจกรรมชุมนุมเชิงวิชาการ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระ เป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ด้านวิชาการในรายวิชาต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียน และเสริมบทเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างชุมนุมที่จัดตั้งขึ้น เช่น
• ชุมนุมคอมพิวเตอร์
• ชุมนุมห้องสมุด
ข. กิจกรรมชุมนุมเพื่อพัฒนาสังคม และจิตใจ เป็นกิจกรรมที่มุ่งสร้างเสริมนิสัยการทำประโยชน์เพื่อสังคม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง ปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยที่เอื้อต่อการทำประโยชน์เพื่อสังคม เห็นแนวทางที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคม และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ตัวอย่างชุมนุมที่จัดตั้งขึ้น เช่น
• ชุมนุมพระพุทธศาสนา
• ชุมนุมศิลปกรรม
ค. กิจกรรมชุมนุมเพื่อการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมประสบการณ์ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น และเข้าใจกระบวนการประกอบอาชีพ ในระหว่างเรียนเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ตัวอย่างชุมนุมที่จัดตั้งขึ้น เช่น
• ชุมนุมอาหารและเครื่องดื่ม
• ชุมนุมพิราบน้อย
• ชุมนุมสหกรณ์
• ชุมนุมนักพูดในที่ชุมชน

ง. กิจกรรมชุมนุมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงการรักษา ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม นักเรียนรู้จัก แลกเปลี่ยน เผยแพร่ และเสริมสร้างความรู้ความคิด ประสบการณ์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการช่วยเหลือหรือในการให้ความร่วมมือในกิจกรรมขององค์การภายใน และภายนอก โรงเรียนทางด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างชุมนุมที่จัดตั้งขึ้น เช่น
• ชุมนุมดำน้ำและการอนุรักษ์
จ. กิจกรรมชุมนุมเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความภูมิใจในความเป็นไทยอันมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตระหนักถึงความสำคัญและความเป็นมาของชาติไทย และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ตัวอย่างชุมนุมที่จัดตั้งขึ้น เช่น
• ชุมนุมดนตรีไทย
• ชุมนุมนาฎศิลป์
• ชุมนุมดนตรีไทยลูกทุ่ง
ฉ. กิจกรรมชุมนุมเพื่อพัฒนาทักษะด้านกีฬา ตัวอย่างเช่น
• ชุมนุมฟุตบอลและฟุตซอลท์
• ชุมนุมเปตอง

• ชุมนุมจักรยานเสือภูเขา
• ชุมนุมกรีฑา
• ชุมนุมบาสเกตบอล
• ชุมนุมตะกร้อ
• ชุมนุมว่ายน้ำ
• ชุมนุมเครื่องบินเล็ก
• ชุมนุมศิลปะป้องกันตัว

2. หลักเกณฑ์การจัดตั้งชุมนุม โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา ได้จัดกิจกรรมชุมนุมในทุกช่วงชั้น โดยจัดอย่างหลากหลาย เพื่อสนองความสนใจ ความถนัด เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของ หรือหากนักเรียนมีความสนใจตรงกันรวมกลุ่มกัน สามารถเสนอจัดตั้งชุมนุมตามระเบียบการจัดตั้งชุมนุมของโรงเรียน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 ครู หรือนักเรียน ที่มีความประสงค์จัดตั้งชุมนุม เขียนโครงการเสนอต่อหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อพิจารณา
2.2 กิจกรรมชุมนุมที่ขออนุญาตจัดตั้งนั้น ต้องมีครูที่ปรึกษาชุมนุมอย่างน้อย 1 คน แต่ไม่เกิน 3 คน
2.3 ขนาดของชุมนุม ประกอบด้วยสมาชิกในอัตราส่วนนักเรียนต่อครูที่ปรึกษา 25 : 1 (ยืดหยุ่นได้ที่อัตรา 20 – 30 : 1)

3. หน้าที่ของครูที่ปรึกษาชุมนุม ครูทุกคนต้องเป็นครูที่ปรึกษาชุมนุมตามคำขอของผู้เรียนหรือตามที่โรงเรียนมอบหมาย ซึ่งจะต้องมีบทบาทดังต่อไปนี้
3.1 ปฐมนิเทศ ปฐมนิเทศให้นักเรียนเข้าใจเป้าหมายและวิธีการดำเนินการจัดกิจกรรมชุมนุม
3.2 เลือกตั้งคณะกรรมการ จัดให้นักเรียนเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมชุมนุม
3.3 ส่งเสริมการจัดทำแผนงาน/โครงการ ส่งเสริมให้นักเรียนที่เป็นสมาชิกของกิจกรรมร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดทำแผนงาน/โครงการและปฏิทินการปฏิบัติงานอย่างอิสระ
3.4 ประสานงาน ประสานงานและอำนวยความสะดวกในด้านทรัพยากรตามความเหมาะสม
3.5 ให้คำปรึกษา ให้คำปรึกษา ดูแล ติดตามการจัดกิจกรรมของนักเรียนให้เป็นไปตามแผนงานด้วยความเรียบร้อยและปลอดภัย
3.6 ประเมินผล ประเมินผลการเข้าร่วมและการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน
3.7 สรุปและรายงานผล สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรมต่อหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

การประเมินผล
การประเมินผลการจัดกิจกรรมชุมนุม เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่ง สำหรับการผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร นักเรียนต้องเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมชุมนุม ตลอดจนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดตามแนวประเมินดังนี้
1. ประเมินการร่วมกิจกรรมชุมนุมตามวัตถุประสงค์ของชุมนุม ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตามสภาพจริงให้ได้ผลการประเมินที่ถูกต้อง ครบถ้วน
2. ครูที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุม และนักเรียนจะมีบทบาทในการประเมินดังนี้
2.1 ครูที่ปรึกษากิจกรรมชุมนุม
(1) ต้องดูแลและพัฒนานักเรียนให้เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม
(2) ต้องรายงานเวลา และพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน
(3) ต้องศึกษาติดตาม และพัฒนานักเรียนในที่กรณีนักเรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรม
2.2 นักเรียน
(1) ปฏิบัติกิจกรรมให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์
(2) มีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ80 ของเวลาเรียนทั้งหมด พร้อมทั้งแสดงผลการปฏิบัติกิจกรรม และพัฒนาการด้านต่าง ๆ
(3) ถ้าไม่เกิดคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ ต้องปฏิบัติกิจกรรมเพิ่มเติมตามที่ครูที่ปรึกษากิจกรรมมอบหมาย
3. เกณฑ์การผ่านกิจกรรมชุมนุม
3.1 นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
3.2 นักเรียนผ่านจุดประสงค์ที่สำคัญของแต่ละกิจกรรม
3.3 นักเรียนต้องผ่านเกณฑ์ประเมินตามข้อ 3.1 และ 3.2 จึงได้ผลการเรียน “ผ” ในกิจกรรมชุมนุม

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วาระการประชุมผู้ปกครองนักเรียนระดับห้องเรียน

วาระการประชุมผู้ปกครองนักเรียนระดับห้องเรียน
โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์บูรณวิทยา
วันเสาร์ที่ 24 พ.ค.2551
เริ่มประชุม 10.30 น.
วาระที่ 1 คุณครูที่ปรึกษาแนะนำตัวเองและกล่าวเปิดประชุม
วาระที่ 2 ผู้ปกครองแนะนำตัวเองให้ผู้ปกครองอื่นๆ ในห้องรู้จักกัน
วาระที่ 3 ผู้ปกครองกรอกแบบฟอร์มการเยี่ยมบ้านนักเรียน
วาระที่ 4 ผู้ปกครองให้ข้อเสนอแนะการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
วาระที่ 5 เลือกคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียน ประกอบด้วย ประธานกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียน รองประธานกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียน กรรมการและเลขานุการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียน รวม 3 ตำแหน่ง
วาระที่ 6 คุณครูที่ปรึกษากล่าวขอบคุณผู้ปกครอง และปิดประชุม
(ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ ถ่ายรูป คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียน)
ปิดประชุมไม่เกิน 11.30 น.

หมายเหตุ เชิญประธานกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียนของทุกห้อง ประชุม ณ ห้องประชุมโรงเรียน เพื่อเลือกคณะกรรมการตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน เวลา 11.30 น.

รายชื่อคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองของห้อง..........................................................
ชื่อ-สกุล
ตำแหน่ง
โทรศัพท์

.............................................................
ประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองห้อง

..................................................................................................
รองประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองห้อง

...................................................................................................
กรรมการและเลขานุการ



ลงชื่อ................................................................
(...................................................
ครูที่ปรึกษา
........./........../........


ใบความรู้สำหรับคุณครูที่ปรึกษา

บทบาทคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
1. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน
3. จัดการศึกษาเสริมให้แก่นักเรียนตามที่ผู้ปกครองต้องการ

คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้อง ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการเครือข่ายของห้อง รองประธานคณะกรรมเครือข่ายของห้อง คณะกรรมการและเลขานุการของห้อง รวม 3 คน (ประธานคณะกรรมการเครือข่ายของห้องจะเป็นคณะกรรมการเครือข่ายระดับโรงเรียนโดยตำแหน่ง)

คณะกรรมเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน ประกอบด้วย คณะกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 26 คน (คือประธานคณะกรรมการเครือข่ายของแต่ละห้อง) และทั้ง 26 คน ต้องเลือกประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน จำนวน 1 คน และตำแหน่งอื่นๆ ตามที่เห็นเหมาะสม

ประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน จะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารโรงเรียนอีก 1 ตำแหน่ง ในส่วนของผู้แทนผู้ปกครอง

เอกสารประกอบการประชุมผู้ปกครองประจำปีการศึกษา 2551

เอกสารประกอบ
การประชุมผู้ปกครองประจำปีการศึกษา 2551
ของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2551
ณ โรงพลศึกษา
กำหนดการ
เวลา 08.30 น. - ผู้ปกครองลงทะเบียน ณ บริเวณโรงพลศึกษา
เวลา 09.00 น. - ผู้อำนวยการโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา กล่าวต้อนรับ
- หัวหน้างานฝ่ายต่างๆ ชี้แจง
เวลา 10.30 น. - ผู้ปกครองแยกย้ายพบครูที่ปรึกษาประจำชั้น ตามห้องเรียนต่างๆ ของลูก
- ผู้ปกครองแต่ละห้องเลือกคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียน
เวลา 11.30 น. - เชิญประธานกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียนของทุกห้อง ประชุม ณ ห้องประชุมโรงเรียน เพื่อเลือกคณะกรรมการตำแหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน
เวลา 12.00 น. - เสร็จสิ้นการประชุม

นโยบายของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา เกี่ยวกับเด็กปี 2551 (ที่สำคัญ)
1. เน้นให้เด็กเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบและเอื้ออาทรต่อสังคม
2. เน้นให้เด็กเป็นคนที่มีระเบียบวินัยในตนเอง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
3. เน้นให้เด็กสามารถคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้ในสถานการณ์ต่างๆ
4. เน้นให้เด็กสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้เอง โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. เน้นให้เด็กเป็นคนพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี
6. เน้นการปลูกจิตวิญญาณไทย เทิดทูน และจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์

ความมุ่งหวังที่มีต่อเด็กนักเรียน “เก่งเรียนรู้ เก่งกิจกรรม เก่งเทคโนโลยี”

ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้รับใบอนุญาต พลโทไกรศิริ บุรณศิริ เจ้ากรมการทหาช่าง
ผู้จัดการ พลตรีปัฐมพงศ์ ประถมภัฎ ผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง
ผู้ช่วยผู้จัดการ(1) พันเอกกรยุทธ วัฒนวรางกูร รองผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง
ผู้ช่วยผู้จัดการ(2) พันเอกชัชวาลย์ เกิดสมบูรณ์ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 11
ผู้อำนวยการ พันเอกสุชาต จันทรวงศ์ (โทร.081-434-8777)

ขอความร่วมมือผู้ปกครองในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. ดูแลให้นักเรียนมาโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ และไปโรงเรียนให้ทันเวลา นักเรียนที่ขึ้นรถโดยสารรับ-ส่งนักเรียน ต้องตรงเวลา
2. ดูแลให้นักเรียนแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
3. ไม่ควรให้นักเรียนใส่เครื่องประดับที่มีค่าไปโรงเรียน
4. หมั่นสอบถามหรือดูงานของนักเรียนที่ครูมอบให้มาทำเป็นการบ้าน
5. ไม่ควรให้นักเรียนหยุดเรียนโดยไม่จำเป็น และหากมีความจำเป็นให้เขียนใบลาตามแบบที่โรงเรียนกำหนด
6. เครื่องเรียนและอุปกรณ์การเรียนต้องจัดหาให้ครบตามที่กำหนด
7. กวดขันเรื่องการกลับบ้านของนักเรียนให้ตรงเวลา
8. หมั่นสังเกตการณ์คบเพื่อนของนักเรียน
9. ดูแลการใช้จ่ายของนักเรียนให้เป็นไปด้วยความมัธยัสถ์ หากมีการอ้างอิงชื่อโรงเรียนแล้วมาขอเงินโดยไม่มีเอกสาร ให้โทรศัพท์ถามครูที่ปรึกษาประจำชั้นได้ทันที
10. ตรวจสมุดรายงานและผลการสอบที่โรงเรียนส่งมาให้ทุกครั้ง
11. หากนักเรียนแจ้งท่านว่ามีปัญหากับโรงเรียนหรือครู ขอให้โปรดรับฟังและสอบถามทางโรงเรียนให้แน่ชัดก่อนที่จะสรุปหรือตัดสินใจ
12. การชำระเงินค่าบำรุงการศึกษาทุกครั้ง หากท่านมอบให้นักเรียนไปชำระ โปรดเรียกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งและเก็บไว้เป็นหลักฐาน
13. เพื่อความสะดวกในการติดต่อ หากท่านย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ โปรดแจ้งให้โรงเรียนทราบในทันที
14. พึงระลึกเสมอว่า เมื่อเด็กของท่านเข้าโรงเรียนแล้ว มิใช่ว่าท่านหมดหน้าที่ในการอบรมเด็กของท่าน ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของครูแต่ฝ่ายเดียว ท่านจะต้องให้ความร่วมมือกับครูอย่างใกล้ชิดด้วย ็นหลักฐาน การหมั่นแวะมาเยี่ยมโรงเรียนพบปะกับครูย่อมเป็นผลดีแก่เด็กของท่าน
15. การติดต่อขอพบนักเรียนในเวลาเรียน ต้องติดต่อที่ฝ่ายธุรการ
16. การขอรับนักเรียนกลับบ้านหรือไปทำธุระข้างนอก ท่านต้องมารับด้วนตนเอง โรงเรียนจะไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นมารับแทน
17. ห้ามผู้ปกครองหรือบุคคลอื่น เข้าไปพบนักเรียนตามอาคารเรียน หรือห้องเรียน
18. ผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือในการเสียสละเวลามาพบครูหรือฝ่ายต่างๆ ที่เชิญท่านมาพบ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมนักเรียนตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนที่จะสายไป

บทบาทคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง
1. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน
3. จัดการศึกษาเสริมให้แก่นักเรียนตามที่ผู้ปกครองต้องการ

คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้อง ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการเครือข่ายของห้อง รองประธานคณะกรรมเครือข่ายของห้อง คณะกรรมการและเลขานุการของห้อง (ประธานคณะกรรมการเครือข่ายของห้องจะเป็นคณะกรรมการเครือข่ายระดับโรงเรียนโดยตำแหน่ง)

คณะกรรมเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน ประกอบด้วย คณะกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 26 คน (คือประธานคณะกรรมการเครือข่ายของแต่ละห้อง) และทั้ง 26 คน ต้องเลือกประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน จำนวน 1 คน และตำแหน่งอื่นๆ ตามที่เห็นเหมาะสม

ประธานคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับโรงเรียน จะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารโรงเรียนอีก 1 ตำแหน่ง ในส่วนของผู้แทนผู้ปกครอง

บทบาทของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการโรงเรียน
1. ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่โรงเรียน เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
2. เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
3. ส่งเสริมให้มีทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาสศึกษา
4. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างสัมพันธภาพ และการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

คณะกรรมการส่งเสริมกิจการโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บังคับหน่วยต่างๆ ภายในค่ายภาณุรังษีและค่ายบุรฉัตร
อบอุ่น ปลอดภัย ในค่ายบุรฉัตร
www.buarmy.com

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน
วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน ๖) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้

๑. เป็น
วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

๒. เป็น
วันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ... ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ ๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

๓. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
วันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้
การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา เพื่อรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณพระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ
พุทธกิจ ๕ ประการ
๑. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ คือเสด็จไปโปรดจริง เพราะทรงพิจารณาเห็นตอนจวนสว่างแล้ว ว่าวันนี้มีใครบ้างที่ควรไปโปรดทรงสนทนา หรือแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดบ้าง เป็นต้น ๒. ตอนบ่าย ทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ ซึ่งปรากฏว่าไม่วาพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าตลอดถึง ผู้ปกครอง นครแคว้นจะชวนกันมาเฝ้าเพื่อสดับตับพระธรรมเทศนาทุกวันมิได้ขาด ๓. ตอนเย็น ทรงเเสดงโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ทั้งมวลที่อยู่ประจำ ณ สถานที่นั้นบางวันก็มีภิกษุจากที่อื่นมาสมทบด้วยเป็นจำนวนมาก ๔. ตอนเที่ยงคืน ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาเทวดา หมายถึง เทพพวกต่างๆ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ ผู้สงสัยในปัญญาและปัญหาธรรม ๕. ตอนเช้ามืด จนสว่าง ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดได้ แล้วเสด็จไปโปรดโดยการไปบิณฑบาตดังกล่าวแล้วในข้อ ๑
โดยนัยดังกล่าวมานี้พระพุทธองค์ทรงมีเวลาว่าอยู่เพียงเล็กน้อยตอนเช้าหลังเสวยอาหารเช้าแล้ว แต่ก็เป็นเวลาที่ต้องทรงต้อนรับอาคันตุกะ ผู้มาเยือนอยู่เนืองๆ เสวยน้อย บรรทมน้อย แต่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจมาก ตลอดเวลา ๔๕ พรรษานั้นเอง ประชาชนชาวโลกระลึกถึงพระคุณของพระองค์ดังกล่าวมาโดยย่อนี้ จึงถือเอาวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระองค์เป็นวันสำคัญ จัดพิธีวิสาขบูชาขึ้นในทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา
ธรรมเนียมการปฏิบัติในวันวิสาขบูชา
เมื่อวันวิสาขบูชาเวียนมาถึงในรอบปี พุทธศาสนาชนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต (พระสงฆ์ สามเณร) หรือ ฆราวาส (ผู้ครองเรือน) ทั่วไป จะร่วมกันประกอบพิธีเป็นการพิเศษทำการสักการบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นดวงประทีปโลก เมื่อวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงในวันเดียวกัน ได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญวิสาขบูชา กลางเดือน ๖ ประมาณเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา แบ่งออกเป็น ๓ พิธี คือ ๑.พิธีหลวง (พระราชพิธี) ๒.พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป) ๓.พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้) การประกอบพิธีและบทสวดมนต์ในวันวิสาขบูชา ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการประกอบพิธีใน
วันมาฆบูชา ๑. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ๓. ไปเวียนเทียน ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา ๔. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา ๕. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
อ้างอิง
ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2539. ประเพณีและพิธีมงคลไทย. กรุงเทพฯ : ธรรมบรรณาคาร, 2518.

Social Network

Social Network คือ ?
คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ทได้ง่าย ๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น

1. Hi5
2. My Space
3. Face Book
4. Orkut
5. Bebo

เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อการตอบสนองความต้องการในการติดต่อธุรกิจหรือหาเพื่อนบนโลกไซเบอร์ทั้งสิ้น
Hi5 ------> www.hi5.com เว็บ Hi5 เป็นเว็บที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายใน เอเชีย Hi5.com เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการมาฝาก profile ของตัวเอง คล้ายๆกับ blog จุดเด่นอยู่ที่ ระบบ network ที่เรามีโอกาสได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ หรือบังเอิญเจอเพื่อนเก่าสมัยมัธยมเมื่อหลายสิบปีก่อน หรือเพื่อนของเพื่อน กิ้กเก่า แฟนเก่า


ข้อดี


1. มีโอกาสได้เพื่อนใหม่ๆและ keep connect กับเพื่อนเก่าๆ


2. การเก็บรักษาความส่วนตัว ก็ใช้ได้ระดับหนึ่ง


3. วิธีการสมัครง่าย และวิธีการทำ hi5 ให้สวยงามก็ง่าย


4. ข้อดีก็เหมือน blog ทั่วไปๆ


ข้อเสีย


1. มีการพัฒนาเว็บ อาจจะล่มบางครั้ง


2. ใส่ลูกเล่นหรือปรับแต่งอะไรได้ไม่ค่อยเยอะ


3. ไม่มีประโยชน์เท่าบล็อก
My Space ----> www.myspace.com My Space คือ เว็บบล็อก ที่ทาง msn ให้ผู้ที่ใช้ msn ได้เข้าไปใช้บริการกัน webblog คืออะไร คล้าย ไดอะรี่ โดยบล็อกจะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะในบล็อก ผู้ที่เป็นเจ้าของเนื้อที่นั้น จะเป็นผู้ที่ดูแลเนื้อหา ว่า จะให้เป็นแนวไหน หรือว่าจะเป็นเนื้อเรื่องอะไร ข้อดี
มีลูกเล่นค่อยข้างมากกว่าที่อื่น
มีการแสดงให้เห็นใน Contact list ของ MSN อีกด้วย
สามารถกำหนดสิทธิคนที่จะเข้าดูได้หลายระดับ
ข้อเสีย
1. เปิดดูได้ช้ามาก
2. ยังไม่สามารถใส่พวก script แบบไดอารี่ หรือ บล็อกในหลายๆ ที่ได้
มายสเปซ (MySpace) เป็นเว็บไซต์ในรูปแบบของเครือข่ายชุมชน ชื่อดังเว็บหนึ่ง ให้บริการทำเว็บส่วนตัว บล็อก การเก็บ ภาพ วิดีโอ ดนตรี และเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มคนอื่น มายสเปซมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เบเวอร์ลีย์ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มายสเปซก่อตั้งเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2546 โดย ทอม แอนเดอร์สัน และ คริสโตเฟอร์ เดอโวล์ฟ ในปัจจุบัน มายสเปซมีพนักงานกว่า 300 คน และในตัวเว็บไซต์มีผู้ลงทะเบียนมากกว่า 100 ล้านคน และมีผู้ลงทะเบียนใหม่ประมาณ 200,000 คนต่อวัน
Face Book ------> www.facebook.com ก่อตั้ง Facebook เว็บชุมชนออนไลน์ (Social-Networking Site) ที่กำลังได้รับความนิยมสุดขีดในขณะนี้ เมื่อ 3 ปีก่อน ขณะยังเรียนอยู่ที่ Harvard ก่อนจะลาออกกลางคัน เจริญรอยตาม Bill Gates แห่ง Microsoft เพื่อเป็น CEO ของเว็บชุมชนออนไลน์ที่เขาก่อตั้งขึ้น ด้วยวัยเพียง 22 ปี ภายในเวลาเพียง 3 ปี เว็บที่เริ่มต้นจากการเป็นเว็บชุมชนออนไลน์สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย กลายเป็นเว็บที่มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียน 19 ล้านคน ซึ่งรวมถึงข้าราชการในหน่วยงานรัฐบาล และพนักงานบริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ เข้าเว็บนี้เป็นประจำทุกวัน และขณะนี้กลายเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 6 ในสหรัฐ 1% ของเวลาทั้งหมดที่ใช้บน Internet ถูกใช้ในเว็บ Facebook นอกจากนี้ยังได้รับการจัดอันดับเป็นเว็บที่ผู้ใช้ Upload รูปขึ้นไปเก็บไว้มากเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ โดยมีจำนวนรูปที่ถูก Upload ขึ้นไปบนเว็บ 6 ล้านรูปต่อวัน และกำลังเริ่มจะเป็นคู่แข่งกับ Google และเว็บยักษ์ใหญ่อื่นๆ ในการดึงดูดวิศวกรรุ่นใหม่ใน Silicon Valley นักวิเคราะห์คาดว่า Facebook จะทำรายได้ 100 ล้านดอลลาร์ในปีนี้
Orkut ------> www.orkut.com เว็บไซต์หาเพื่อนสำหรับกลุ่มนักท่องเว็บขี้เหงา เป็นเว็บไซต์เชื่อมต่อระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน ให้คุณสามารถสร้างความสนิทสนมได้บนความสะดวกสบายจุดประสงค์หลักของบริการจาก Orkut.com คือการช่วยให้คุณและเพื่อนๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยความสะดวกสบายมากขึ้นผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์นี้จะเปิดโอกาสให้เหล่าเพื่อนฝูงมาพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน การเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ Orkut.com จะต้องได้รับเชิญจากคนที่เป็นสมาชิกอยู่ก่อนเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้มีสมาชิกนับพันกว่าคนแล้ว สมาชิกส่วนใหญ่เป็นพนักงานของกูเกิลแทบทั้งนั้น หน้าตาอินเตอร์เฟสของ Orkut.com นี้มีลักษณะคล้ายกับเว็บไซต์ social networking ทั่วๆไปอย่างเช่น Friendster, Tribe.net เว็บไซต์กระชับมิตรเหล่านี้เป็นที่จับตามองอย่างมากในปีที่ผ่านมา
Bebo -------> www.bebo.com Bebo เป็นเครือข่ายทางสังคมแห่งยุคอนาคตที่ทำให้นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อกับเพื่อน หาเพื่อนที่ขาดการติดต่อกันไปนาน และพบปะกับผู้คนใหม่ๆ หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนก.ค.ปีที่แล้ว ในเวลาแค่ 7 เดือน เครือข่ายทางสังคมแห่งนี้ก็มีสมาชิกจดทะเบียนมากกว่า 22 ล้านรายที่เข้ามาดูหน้าเว็บเพจถึงกว่า 700 ครั้งต่อเดือน Bebo เป็นบริษัทเอกชนที่บริหารงานโดยทีมบริหารที่มีประสบการณ์ในเมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัทได้เปิดตัวเว็บไซท์เครือ ข่ายสังคมลำดับแรกๆคือ Ringo.com ซึ่งต่อมาเขาได้ขายเว็บดังกล่าวให้แก่ Tickle (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Monster ในปัจจุบัน) และล่าสุด อดีตประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจจาก Friendster ได้เข้ามาร่วมงานกับ Bebo นอกจากนี้ ทีมงานของ Bebo.com ยังเปิดเว็บไซท์อีกเว็บที่ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบปากต่อปาก (word of mouth) นั่นคือ BirthdayAlarm.com ซึ่งมีสมาชิก 40 ล้านคน Bebo เป็น Social Network ที่ถูกออกแบบมาดี โทนสีของเว็บไซต์ดูแล้วสบายตา ใช้งานง่าย มีการจัดระบบติดต่อผู้ใช้ได้ดี คนที่ไม่มีพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้แบบไม่ติดขัด รูปร่างหน้าตาของบล็อกดูไม่รกหูรกตา รองรับการปรับแต่งได้หลากหลาย
สรุป
การเป็น social networking นั้นอาจจะเรียกได้ว่า เป็นเน็ตเวิร์กกระชับมิตร เพราะด้วยความที่ให้บริการเป็นชุมชนออนไลน์ ยูสเซอร์อาจจะใช้เครือข่ายนี้เป็นตัวเชื่อมต่อเพื่อพูดคุยกับเพื่อนฝูง หรืออาจจะหาเพื่อนใหม่เพื่อนัดเดท ซึ่งไม่ต่างอะไรจากเว็บไซต์หาเพื่อน ที่เคยฮอตฮิตในเมืองไทยบ้านเราอยู่พักใหญ่ เว็บไซต์ที่เข้าข่าย social networking นี้ จะเปิดให้ยูสเซอร์ตั้งชื่อ และเลือกชุมชนที่ต้องการ โดยจะสามารถโต้ตอบกับผู้คนที่อยู่บนเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย แต่ในบางประเทศก็มีการนำเอา social networking นี้มาใช้ในการพัฒนาชุมชน โดยใช้เครือข่ายเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อประชาชนในชุมชนกับกลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ประชาชนในชุมชน สามารถถ่ายทอดปัญหาและความต้องการได้โดยตรง จุดนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการแสดงความคิดเห็น การเฝ้าระวังข้อมูล การมีส่วนร่วม การสะท้อนมุมมอง และการระดมทุน

คณะผู้จัดทำจัดทำ

1. นางอัมพร จุลกะนาค

2. นางจันทร์เพ็ญ กิมตงเห

3. นางกนกพร ไร่นาดี

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วันทำบุญโรงเรียน

ในวันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2551 ทางโรงเรียนฯ ได้จัดให้มีการทำบุญโรงเรียน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่โรงเรียน คณะครูและนักเรียน โดยนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 9 รูป เริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น. ณ บริเวณหน้าอาคารเรียน2

FUN LANGUAGE Lesson Stages


ดิฉันนางรัชนี ค่ายหนองสวง พร้อมด้วยครูวิชัย ทรัพย์ประเสริฐ ได้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ณโรงแรมนนทบุรีพาเลสจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการบริหารการศึกษาเอกชน ระหว่างวันที่29 เม.ย -1 พ.ค 2551วิทยากร ที่ให้การอบรม คือ อาจารย์โรงเรียน ภาษาหรรษา โดย มีผู้อำนวยการกลุ่มโรงเรียนสามัญศึกษาเป็นประธานในพิธีเปิดมีครูโรงเรียนเอกชนในเขตภาคกลางเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 100 คน หลังจากพิธีเปิดแล้วได้แยกการอบรมเป็น 2 ห้องๆละ50 คน เพื่อสะดวกการทำกิจกรรม ในการอบรมทั้ง3วัน นี้พวกเราได้เรียนรุ้เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานไม่รู้เบื่อ
ซึ่งมีวิธีการสอน 7ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
FUN
LANGUAGE
Lesson Stages
STAGE 1: PRESENT VOCABULARY
STAGE 2: DRILL VOCABULARY
STAGE 3: PRESENT FULL LANGUAGE STRUCTURE
STAGE 4: PRACTICE–GROUPCHORAL GAME(ANSWER PATTERN)
STAGE 5: PRACTICE–INDIVIDUAL(ANSWER PATTERN)
STAGE 6: INTRODUCE THE QUESTION PATTERN AND DRILL
STAGE7: PRACTIC–GROUP/INDIVIDUAL QUESTION PATTERN WITH INDIVIDUAL ANSWER PATTERN
AT ALL STAGES THE TEACHER IS AIMING TO:
1) maximize student speaking tiam
2) encourage student to substitute vocabulary or verb phrases without help or prompting

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เรียนเรื่องชีวิตจากกบน้อย

ครั้งหนึ่งมีกลุ่มของลูกกบตัวเล็กๆกลุ่มหนึ่งได้มาร่วมกันจัดการแข่งขันเพื่อจะปีนขึ้นไปยอดเสาไฟฟ้าแรงสูง มีกลุ่มชนชาวกบจำนวนมากมายมารอชมและเชียร์การแข่งขันในครั้งนี้ การแข่งขันเริ่มขึ้น
พูดตรงไปตรงมา..ไม่มีชนชาวกบตัวใดจะเชื่อว่าเจ้ากบตัวเล็กๆเหล่านั้นจะปีนขึ้นไปจนถึงยอดเสาไฟฟ้าแรง
สูงได้ มีเสียงพูดลอยมาให้ได้ยินเป็นต้นว่า
“เขาไม่มีทางจะปีนขึ้นไปถึงยอดหรอก มันยากลำบากขนาดนั้น” เจ้ากบตัวน้อยๆเหล่านี้ก็เริ่มที่จะร่วงหล่นลงไปทีละตัวทีละตัว ยกเว้นเจ้าตัวหนึ่งซึ่งยังปีนอย่างมุ่งมั่น สูงขึ้นและสูงขึ้น ฝูงกบก็เริ่มส่งเสียงตะโกน “มันยากเกินไปไม่มีใครทำได้หรอก” กบส่วนใหญ่เริ่มเหน็ดเหนื่อยและยอมแพ้ แต่มีกบตัวหนึ่งที่ยังตั้งหน้าตั้งตาปีนสูงขึ้น สูงขึ้น
เจ้าตัวนี้ไม่ยอมแพ้ เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงกบตัวอื่นๆต่างยอมแพ้ที่จะปีนสู่ยอดเสาจนหมดสิ้นยกเว้นกบตัวเล็กๆตัวหนึ่งด้วยความพยายามอย่างสุดกำลังมันก็สามารถปีนขึ้นสู่ยอดเสาได้
กบทุกตัวอยากรู้ว่าเจ้ากบตัวเล็กๆตัวนี้ทำได้อย่างไร กบคู่แข่งขันต่างอยากรู้ว่าเจ้ากบตัวเล็กตัวนี้มีพลังในการปีนขึ้นสู่ยอดเสาอันเป็นเป้าหมายจนประสบความสำเร็จได้อย่างไร เรื่องกลับกลายเป็นว่ากบผู้ชนะ หูหนวก

เรื่องนี้บอกให้รู้ว่า...อย่าฟังคำพูดในด้านลบหรือการมองในแง่ลบจากคนอื่นเพราะเขาเหล่านั้นจะดึงความฝัน ความปรารถนาในหัวใจของคุณออกไป ให้ระวังพลังของคำพูดเสมอเพราะทุกสิ่งที่คุณได้ยินและได้อ่านมันจะส่งผลต่อการกระทำของคุณ เพราะฉะนั้น ตลอดเวลาขอให้ เป็นคนคิดบวกและเหนือจากนั้น
จงทำหูหนวกต่อคำพูดของผู้คนที่บอกว่าคุณไม่สามารถทำความฝันของคุณให้เป็นจริงได้
ให้คิดเสมอว่าคุณสามารถทำมันได้

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธ์ทางการเรียน

ในการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีขั้นตอนในการดำเนินการดังต่อไปนี้(การสร้างข้อสอบ)
ขั้นตอนที่1 กำหนดจุดมุ่งหมาย (เป็นการระบุว่าจะสอบไปทำไม สอบอะไรและสอบอย่างไร)แบ่งเป็น3ขั้นตอนได้แก่
1.1การวิเคราะห์จุดมุ่งหมาย (เป็นการวิเคราะห์จุดมุ่งหมายของหลักสูตรจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ต้องการวัด
พฤติกรรมที่ต้องการวัดได้แก่
* พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เช่นความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
* พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
* พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psycho-motor-Domain))
1.2วิเคราะห์เนื้อเรื่องและเรียงลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา (เป็นการวิเคราะห์เพื่อแยกแยะเนื้อหาและจัดรวมเป็นหน่วยย่อยๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน และมีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามลำดับการสอนก่อน-หลัง)
1.3การกำหนดตารางวิเคราะห์หลักสูตร/ตารางวิเคราะห์ข้อสอบ(ในขั้นตอนนี้ครูผู้สอนกำหนดตารางวิเคราะห์หลักสูตรซึ่งเป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ของเนื้อหาและพฤติกรรมที่มุ่งวัดโดยมีขั้นตอนย่อย3ขั้นตอนคือ
1การกำหนดระดับความสำคัญเป็นรายบุคคล (ครูผู้สอนในรายวิชาเดียวกันร่วมกำหนดระดับความสำคัญของเนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด-หากสอนคนเดียวก็กำหนดคนเดียว)
2การแปลงน้ำหนักความสำคัญจากรายบุคคลเป็นรายวิชา (หลังจกที่ครูผู้สอนในรายวิชาเดียวกันกำหนดระดับความสำคัญของแต่ละคนเรียบร้อยแล้ว ห้นำคะแนนในแต่ละช่องทั้งในแนวแถวและแนวคอลัมน์มาหาผลรวม เช่น ผลรวมของเนื้อหาที่ 1ที่วัดพฤติกรรมความรู้ความจำ เป็นต้น)
3การแปลงน้ำหนักความสำคัญให้เป็นตาราง100 (เป็นการแปลงคะแนนน้ำหนักความสำคัญจากขั้นตอนที่ 2)ในช่องรวมทั้งทางแนวคอลัมน์และแนวแถวให้เป็น100)
การจัดตารางวิเคราะห์หลักสูตร/ตารางวิเคราะห์ข้อสอบนี้ ครูผู้สอนสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการออกข้อสอบได้ถือเป็นการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบในเรื่องความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ด้วย กล่าวคือ ทำให้ครูผู้สอนแน่ใจว่าได้ออกข้อสอบได้ครอบคลุมตามเนื้อหาที่สอน
ขั้นตอนที่2 การออกแบบการสร้างแบบสอบ
2.1 การวางแผนการทดสอบ (ผู้สอนวางแผนกำหนดการทดสอบ โดยวางแผนว่าใน 1 ภาคเรียนจะทำการทดสอบกี่ครั้ง ระยะความถี่ห่างในแต่ละครั้งเป็นเท่าใด )
2.2 กำหนดรูปแบบของแบบสอบและจำนวนข้อสอบ(ผู้สอนเลือกประเภทแบบสอบที่จะใช้โดยเลือกให้เหมาะสมกับพฤติกรรมที่ต้องการวัดและเนื้อหาที่จะสอบ และกำหนดจำนวนข้อสอบที่จะใช้ในการสอบ)
ขั้นตอนที่3 เขียนข้อสอบ (ผู้สอนดำเนินการเขียนข้อสอบ ตามเนื้อหาและพฤติกรรมที่มุ่งวัด)
หลังจากที่ผู้สอนดำเนินการร่างข้อสอบไปครบตามจำนวนและครอบคลุมพฤติกรรมเนื้อหาตามตารางวิเคราะห์ข้อสอบแล้วให้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบเบื้องต้น คือ
1.ผู้สอนตรวจสอบด้วยตนเองในประเด็นความสมเหตุสมผล ความชัดเจนของภาษาที่ใช้
2.เพื่อนครูผู้สอนร่วมตรวจสอบคุณภาพในส่วนของความครอบคลุมตามตารางวิเคราะห์ข้อสอบ และความชัดเจนของภาษาที่ใช้
หลังจากที่ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ให้รวมข้อสอบเป็นฉบับ แล้วจึงนำไปสอบกับผู้เรียน
ขั้นตอนที่4 การวิเคราะห์ข้อสอบ (เป็นการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบที่สร้างขึ้นโดยในการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบนั้นจะดำเนินการตรวจสอบค่าความยากและค่าอำนาจจำแนก)
ในการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อจะเป็นการตรวจสอบค่าความยาก(Item Difficulty: p) และค่าอำนาจจำแนก (Power of Discrimination: r) โดย
* ค่าความยาก หมายถึง สัดส่วนผู้ที่ตอบข้อสอบข้อนั้นได้ถูกต้อง
* ค่าอำนาจจำแนก หมายถึง ความสามารถของข้อสอบในการจำแนกคนเก่งออกจากคนอ่อน จำแนกคนรู้ออกจากคนไม่รู้ได้
ขั้นตอนที่5 (หลังจากการสอบและตรวจให้คะแนนเรียบร้อยแล้วผู้สอนควรจัดทำรายงานผลการสอบเพื่อแจ้งให้กับผู้เรียน ทั้งนี้ในการรายงานผลควรรายงานคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนเต็ม จำนวนผู้เข้าสอบ จำนวนผู้สอบผ่านและไม่ผ่าน เป็นต้น และควรรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบรายข้อด้วย ว่ามีข้อสอบจำนวนเท่าใดที่มีความยากและค่าอำนาจจำแนกผ่านเกณฑ์ซึ่งจะสามารถนำไปเก็บไว้ในคลังข้อสอบได้)

รายการอ้างอิง
พิชิต ฤทธฺจรูญ.2545.หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์
ศิริชัย กาญจนวาสี.2548.ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม(Classical Teat Theory).พิมพ์ครั้งที่5.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

จะใช้ e-learning สอนเด็กของเราได้อย่างไร

ผมจะจัดการเรียนการสอน แบบ e-learning ให้กับเด็กของผมได้อย่างไร นี่คือคำถามที่ผมกำลังพยายามหาคำตอบอยู่...




เมื่อวันที่ 21-25 เม.ย.2551 ผมได้เข้ารับการอบรมการสร้างบทเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม Adobe Captivate ซึ่งจัดโดยสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี การอบรมครั้งนี้ มีครูจากโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาต่างๆ เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 41 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครูที่มาจากจังหวัดใกล้เคียง เสียค่าอบรมเพียงคนละ 500 บาท เลี้ยงทั้งอาหารกลางวันและอาหารว่างเช้าบ่าย ทุกวัน ซึ่งจริงๆ แล้วเงินจากที่เก็บจากพวกเราเพียงแค่นี้ คงไม่เพียงพอสำหรับการอบรมถึง 5 วัน ไหนจะค่าวิทยากร ค่าเอกสาร ค่าแผ่นซีดี ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ ฯลฯ แต่เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยฯ คงมีงบประมาณส่วนหนึ่งมาสนับสนุนงานบริการทางวิชาการ นั่นเอง..จึงทำให้พวกเราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ผมจึงขอชื่นชมและขอสนับสนุนให้มีการอบรมดีๆ อย่างนี้ตลอดไป...



ในการอบรมทั้ง 5 วัน พวกเราได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ e-learning LMS และมาตรฐาน SCORM ส่วนในการฝึกเชิงปฏิบัติการพวกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบทเรียน e-learning ได้แก่
· โปรแกรม Moodle (Modular Objected Dynamic Learning Environment) ซึ่งโปรแกรมหนึ่งในหลายโปรแกรมที่นิยมใช้ในระบบบริหารจัดการเรียนรู้ (LMS: Learning Management System)
· โปรแกรม Adobe Photoshop ซึ่งเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้แต่งภาพต่างๆ ให้สวยงาม ก่อนที่จะนำไปใช้
· โปรแกรม Macromedia Flash เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวได้อย่างสวยงาม หลากหลายสไตส์
· โปรแกรม Adobe Captivate เป็นโปรแกรมนำเสนอได้สุดยอด เหมือนกับมืออาชีพ การใช้งานง่าย สามารถครอบคลุมเกือบทุกสิ่งที่ต้องการโดยเฉพาะเรื่องมัลติมีเดีย

หลังจากเสร็จสิ้นการอบรม ผมเริ่มพอที่จะใช้โปรแกรมเหล่านี้ได้บ้าง ถามว่า เก่งหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่า คงต้องกลับไปฝึกฝนวิทยายุทธ์ อีกหลายตั้ง กว่าจะสามารถใช้เครื่องไม้เครื่องมือเหล่านี้ มาสร้างสื่อมัลติมีเดีย เพื่อใช้ในการสร้างบทเรียน e-learning ได้ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ ถ้าผมสร้างได้แล้ว ผมจะจัดการเรียนการสอน แบบ e-learning ให้กับเด็กของผมได้อย่างไร นี่คือคำถามที่ผมกำลังพยายามหาคำตอบอยู่

การจัดการเรียนการสอนแบบ e-learning กับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ นั้น ฟังดูแล้วคล้ายกัน แต่ต้องเข้าใจว่า e-learning อาจจัดแบบออฟไลน์ก็ได้ไม่จำเป็นต้องออนไลน์ เพราะการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ มีข้อควรคำนึงหลายประการ ดังในเอกสาร ประกอบการอบรม กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น
· ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่ายในโรงเรียน
· ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
· ความพร้อมของผู้เรียน
· ความพร้อมของครูผู้สอน
· การจัดทำเนื้อหาและบทเรียน

ในทัศนะส่วนตัวของผมแล้ว การจัดการเรียนการสอนแบบ e-learning นี้ น่าจะเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. ผู้สอนมีน้อย ผู้เรียนมีมาก หมายถึง ไม่ว่าจะจัดตารางสอนอย่างไร ใน 1 สัปดาห์ ผู้สอนก็ไม่สามารถพบผู้เรียนได้ทุกห้อง ดังนั้น จึงต้องใช้การเรียนแบบ e-learning เข้ามาช่วยสอน ในชั่วโมงที่ไม่สามารถพบนักเรียนได้
2. ขาดผู้สอนในวิชานั้นๆ เช่น ผู้เรียนต้องมีสาขาวิชาที่ต้องเรียนจำนวนมาก แต่ครูผู้สอนมีจำกัด หรือมีความเชี่ยวชาญในเฉพาะสาขาวิชาที่ตนถนัดหรือจบมาโดยตรง ดังนั้น วิชาที่ตนไม่ถนัดหรือไม่เชี่ยวชาญ หรือไม่มีครูผู้สอน จึงต้องใช้ บทเรียนที่เป็นลักษณะ e-learning เข้ามาจัดการเรียนการสอนในวิชานั้นๆ แทน
3. ใช้ในการสอนเสริม เช่น ในการทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมเพื่อเสริมทักษะ ใช้เป็นเนื้อหา หรือบทเรียนสำหรับอ่านนอกเวลา

หากพวกเราคิดว่า จะจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning ในสถานศึกษา พวกเราก็ควรจัดให้มีศูนย์การเรียน e-learning ของสถานศึกษาด้วย ในสถานศึกษาทั่วไป โดยส่วนใหญ่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่มักใช้สอนในชั่วโมงคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียนตามตารางสอนที่กำหนด หากจะนำมาใช้ในการเรียน e-learning ด้วยแล้วคงจะมีความสับสนอลหม่านพอสมควร ซึ่งหากวางแผนใช้ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่แล้วในการเรียนแบบ e-learning ก็คงต้องใช้นอกเวลาเรียน คำว่า “นอกเวลาเรียน” สำหรับนักเรียนชั้นประถมและมัธยมนี้ ยิ่งเป็นไปได้ยากมาก เพราะเด็กเหล่านี้ ต้องกลับบ้านตามเวลา เนื่องจากยังเล็กนักไม่เหมือนกับนิสิตนักศึกษา บางคนมีผู้ปกครองมารับหลังเลิกงาน บางคนต้องไป-กลับตามเวลาของรถรับ-ส่ง นักเรียน บางคนถ้ากลับบ้านมืดก็จะเป็นอันตราย

ดังนั้น สถานศึกษาใด จะจัดให้มีการเรียน e-learning คงต้องคำนึงถึงการให้บริการเหล่านี้ ด้วย อย่าคิดว่าผู้เรียนสามารถไปเรียนที่บ้านก็ได้ เพราะมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตอยู่ที่บ้านแล้ว นั่นคือความคิดที่อาจจะผิด เพราะเด็กนักเรียนหลายคน (อาจจะเป็นส่วนใหญ่ในประเทศไทยด้วยซ้ำไป) ที่บ้านยังมีเพียงแค่โทรทัศน์ และวิทยุ AM เก่าๆ เพียงสองเครื่องเท่านั้น

ไม่ว่าเราจะใช้ e-learning ในการจัดการเรียนในลักษณะใด สำคัญอยู่ตรงที่ว่า ใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อบทเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียน อย่างเช่น ที่ผมได้เข้าอบรมในครั้งนี้ ได้ไปเรียนรู้โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในสร้างบทเรียน e-learning ซึ่งหากเปรียบกับโรงงานก็เหมือนกับผมกำลังไปเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรและวัตถุดิบในการผลิตสินค้า แต่หลังจากผลิตสินค้ามาแล้วไม่รู้จะไปขายให้ใคร ใครจะเป็นผู้ซื้อ และผู้ซื้อมีความพร้อมหรือไม่ เหมือนกับการซื้อเตาอบไมโครเวฟไปไว้ที่บ้าน แต่ที่บ้านยังไม่มีไฟฟ้านั่นเอง


บทเรียน e-learning ก็เหมือนสินค้าตัวหนึ่ง การผลิตบทเรียนที่ดี ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ จำนวนมาก หากเรามุ่งหวังให้ครูที่มาอบรม กลับไปเป็นผู้ผลิตสื่อบทเรียน e-learning เองแล้ว เห็นทีท่าว่าจะลำบาก ผมคิดว่า ครูไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ผลิตสื่อบทเรียน e-learning เอง ครูน่าจะมีหน้าที่ในการสรรหา บทเรียน e-learning ที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากกว่า ซึ่งก็เหมือนกับการที่ครูสรรหาหนังสือมาให้ผู้เรียนเรียนนั่นเอง


แต่อย่างไรก็ตามทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีการเริ่มต้น..ดังนั้น วันนี้ เรากำลังเริ่มต้น เรากำลังเริ่มมีความรู้เกี่ยวกับ e-Learning เรากำลังจะเดินทางไปสู่โลกไซเบอร์ ซึ่งเรากำลังจะพาเด็กๆ ของพวกเราไปด้วย อย่าลืม โลกไซเบอร์นั้น มีสิ่งยั่วยุอยู่มากมาย พวกเราต้องจูงเด็กๆ ให้ดี ระวังทั้งเด็กและเราจะหลงทางเอง...


พันเอกสุชาต จันทรวงศ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
30 เม.ย.2551