ความตื่นตัวในวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อรัฐบาลสวีเดนได้เสนอต่อองค์การสหประชาชาติถึงวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยวิกฤตการณ์ต่าง ๆ คือ
· การขาดแคลนอาหาร
· วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน
· อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมาก
· ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก
· การขาดแคลนอาหาร
· วิกฤตการณ์ด้านพลังงาน
· อัตราการเพิ่มของประชากรที่สูงมาก
· ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก
ดังนั้นองค์การสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดนจึงได้จัดการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" (UN CONFERENCE ON THE HUMAN ENVIRONMENT) ที่กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่าง ๆ รวมทั้งแผนการดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
ในการประชุมครั้งนี้มีผู้ร่วมเข้าประชุมถึง 1,200 คน จาก 113 ประเทศ นอกจากนั้น ยังมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์การสหประชาชาติ สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ และตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก ซึ่งผลการประชุมนับว่าประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังคุกคามโลกของเรา และมีการตกลงที่จะร่วมมือในด้านต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือ องค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP : UNITED NATIONS ENVIRONMENT PROGRAMME) ขึ้น และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น จัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในปีเดียวกัน
ดังนั้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงจุดเริ่มต้น ของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม วันที่ 5 มิถุนายน อันเป็นวันเริ่มการประชุม ครั้งยิ่งใหญ่นี้ จึงได้รับประกาศให้เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" (WORLD ENVIRONMENT DAY)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น