วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ความหมายของ "ครู"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติมีข้อความที่เกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดีไว้ตอนหนึ่งว่า
"ครูที่แท้นั้น ต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ
ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร
ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน
ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิ
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ
ต้องเมตตาหวังดี
ต้องเมตตาหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจคติ
ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความรู้ในเหตุผล
ความหมายของครู
พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๗ : ๙๒) กล่าวว่า คำว่า "ครู" เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ แล้วก็นำให้เกิดทางวิญญาณไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ
อำไพ สุจริตกุล (๒๕๓๔ : ๔๗-๔๘) กล่าวว่า คำว่า "ครู" "ปู่ครู" "ตุ๊ครู" และ "ครูบา" ในสมัยโบราณ หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่นหลังของสำนักต่อไป หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ร้อยกรองบทประพันธ์เกี่ยวกับครูไว้อย่างไพเราะจับใจว่า
ใครคือครู ครูคือใครในวันนี้
ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล
ใช่อยู่ที่เรียกว่า ครูอาจารย์
ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน
ครูคือผู้นำทางความคิด
ให้รู้ถูกรู้ผิด คิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้สร้างงาน
ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์
ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน
ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์
มีดวงมานเพื่อมวลชนใช่ตนเอง
ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ยิ่งใหญ่
สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ได้เป็นตัวของตัวเอง
ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู
จากตัวอย่างความหมายของครูข้างต้น จะเห็นว่า ครูต้องเป็นคนที่มีทั้งความรู้และความประพฤติที่ดี กอปรด้วยความเมตตากรุณาต่อศิษย์ คงไม่เกินความจริงที่จะกล่าวว่า ครูเป็นบุคคล "ไตรภาคี" คือ มาจากองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) ความรู้ดี ๒) ความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม (เมตตากรุณา) หากขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งจะไม่สามารถเป็นครูที่ดีได้
องค์ประกอบ ๓ ประการนี้ เป็นหลักความจริงที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งสำหรับผู้มีหน้าที่เป็นครู เพราะผู้ที่มีองค์ประกอบทั้งสามนี้ และพัฒนาถึงชั้นสูงสุด จะอยู่ในฐานะเป็นยอดครู หรือบรมครู เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงได้รับการขนานพระนามว่า "บรมครู" เพราะพระองค์ ทรงมีองค์ประกอบ ๓ ประการนี้ที่พัฒนาถึงชั้นสูงสุดแล้ว คือ ทรงมีพุทธคุณ ๓ ประการ คือ
๑. พระปัญญาคุณ (ความรู้)
๒. พระวิสุทธิคุณ (ความบริสุทธิ์, ความประพฤติดี)
๓. พระกรุณาคุณ (ความสงสาร,ทนไม่ได้ที่จะไม่ช่วยเหลือคนอื่น)
ความหมายของครู ตามรูปแบบ
ความหมายของครูดังกล่าวข้างต้นเป็นความหมายตามเนื้อความหรือเนื้อแท้ของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหนก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ยังมีความหมายของครูอีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมาย ให้เป็นรูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติ หรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางทีอาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความ หมายตามเนื้อแท้ก็ได้ ความหมายของครูโดยกฎหมายนี้อาจเรียกว่า “ความหมายของ ครูตามรูปแบบ” แต่มันเป็นความหมายไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนไปได้ใน เมื่อใดกฎหมายกำหนดขึ้นมาใหม่ ก็อาจจะเปลี่ยนไปใหม่ได้ตามรูปแบบนั้น ๆ
ความหมายของครูตามรูปแบบนั้นจะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า “ข้าราชการครู” ซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่
๑. กลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา
๒. กลุ่มที่มีหน้าที่บริหารและให้การศึกษาในหน่วยงานทางการศึกษา
๓. กลุ่มที่มีหน้าที่เกี่ยวกับให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของกระทรวงศึกษาธิการ
เฉพาะกลุ่มที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก มีการแบ่งตำแหน่งเป็นระดับต่าง ๆ ไปจากล่างไปสูง คือ
- ครู ๑
- ครู ๒
- อาจารย์ ๑
- อาจารย์ ๒
- อาจารย์ ๓
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- รองศาสตราจารย์
- ศาสตราจารย์
บางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตั้งแต่ตำแหน่งผู้ช่วย ศาสตราจารย์ถึงศาสตราจารย์ จะมีได้เฉพาะหน่วยงานที่มีการสอนถึงระดับ ปริญญาตรี เท่านั้น
ความหมายของครูตามรูปแบบอาจมีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตาม เนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า “ครู” อาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดยอาจ ถูกมองว่าไม่เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นที่เรียกว่า “ครู” ก็เรียกว่า “อาจารย์” หรือผู้ ช่วยศาสตราจารย์ หรือคำอื่น ๆ อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้ จนที่สุดแม้แต่ เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้ เพราะสามรถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้นองค์ประกอบแห่งความเป็นครูที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็
ที่มาของคำว่า ครู
ที่มาของคำว่า ครู คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ"
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ตามรอย ส.ค.ส.พระราชทาน
ส.ค.ส. พระราชทาน เป็นบัตรส่งความสุข ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี (ยกเว้น พ.ศ. 2548)
ในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงาน โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส. 9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส. 9 ปรุ ส.ค.ส. พระราชทาน ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530
เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส. พระราชทาน แต่ละปี จะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อ ๆ มา หนังสือพิมพ์รายวัน ได้นำลงตีพิมพ์ ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง
นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน เป็น ก.ส. 9 ปรุง เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ "ปรุ" ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ "ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้น จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ ดังนี้
ววชชนน ด.ด. ปปปป และตั้งแต่ ส.ค.ส. พระราชทานปี 2549 เป็น ววชชนน ด.ด. ปป
เมื่อ ว=วันที่ ช=เวลาเป็นชั่วโมง น=เวลาเป็นนาที ด=เดือน และ ป=ปี
อนึ่ง ส.ค.ส. พระราชทานตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาพสี นอกจากนี้ คำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน ตั้งแต่ปีดังกล่าวเป็นต้นมา จะมีข้อความ "พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad, D.Brahmaputra, Publisher"(ใน ส.ค.ส. ปี 2549, 2551, 2552, 2553) และ "Printed at the Suvarnnachad Publishing, C.Brahmaputra, Publisher" (ใน ส.ค.ส. ปี 2550)
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดกระทู้ขึ้นในเว็บบอร์ด โดยมีเนื้อหาเชิงตั้งข้อสังเกตว่า ส.ค.ส. ประจำปี พ.ศ. 2553 มิได้ใช้รูปแบบเฉพาะของการระบุวันเดือนปีและเวลา ที่ตามหลังข้อความ ก.ส. 9 ปรุง ดังที่ทรงใช้มาทุกปี ซึ่งรูปแบบที่เปลี่ยนใหม่ เริ่มจากเวลาเป็นชั่วโมง เวลาเป็นนาที แล้วจึงเป็น วัน เดือน และปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวเลขที่ประทับอยู่มุมขวาตอนล่างของพระบรมฉายาลักษณ์ที่เป็น ส.ค.ส.ในปีดังกล่าว ซึ่งเป็นเวลาฉายภาพคือ 15 นาฬิกา 25 นาทีนั้น เป็นเวลาเดียวกับที่ตามหลังข้อความ ก.ส. 9 ปรุง อันเป็นเวลาที่นำภาพมาประดิษฐ์เป็น ส.ค.ส. ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในเชิงเหตุผล ที่เวลาทั้งสองส่วนดังกล่าว จะเป็นเวลาเดียวกันพอดี
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
อัตราการอุดหนุนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี พ.ศ.2553
ตารางอัตราการอุดหนุนแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยการกำหนดมาตรการการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
พ.ศ.2553
หนังสือเรียนว่าด้วยการกำหนดมาตรการการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนค่าหนังสือเรียน
อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
พ.ศ.2553
- ระดับก่อนประถมศึกษา -200.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 755.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 -362.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 369.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 823.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นแระถมศึกษาปีที่ 5 - 402.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 - 479.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 924.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 169.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 - 168.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 1,451.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 - 806.00 บาท/ปี
- ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 - 763.00 บาท/ปี
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ - 1,000 บาท/ภาคเรียน
- หมายเหตุ : ทั้งนี้ไม่เกินใช้จ่ายจริง
อุปกรณ์การเรียน
- ระดับก่อนประถมศึกษา - 100.00 บาท/ภาคเรียน
- ระดับประถมศึกษา - 195.00 บาท/ภาคเรียน
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - 210.00 บาท/ภาคเรียน
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย - 230.00 บาท/ภาคเรียน
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ - 230.00 บาท/ภาคเรียน
เครื่องแบบนักเรียน
- ระดับก่อนประถมศึกษา - 300.00 บาท/คน คนละ 2 ชุด/ปี
- ระดับประถมศึกษา - -360.00 บาท/คน คนละ 2 ชุด/ปี
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - 450.00 บาท/คน คนละ 2 ชุด/ปี
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย - 500.00 บาท/คน คนละ 2 ชุด/ปี
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ - 900.00 บาท/คน คนละ 2 ชุด/ปี
ค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
- ระดับก่อนประถมศึกษา - 215.00 บาท/ภาคเรียน
- ระดับประถมศึกษา - 240.00 บาท/ภาคเรียน
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น - 440.00 บาท/ภาคเรียน
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย - 475.00 บาท/ภาคเรียน
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ - 475.00 บาท/ภาคเรียน
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553
ศิษย์เก่าตัวอย่าง งานคืนสู่เหย้าชาวบูรณะ 25 ธ.ค.2552
1.นายสิทธิชัย นิ่มนวล (เต่า)
เกิด 10 ธันวาคม 2550
บิดา – มารดา ร.ต.สุวรรณ - นางสำลี นิ่มนวล
สถานภาพ สมรส มีบุตร 1 คน
ศาสนา พุทธ
ภูมิลำเนา 20/19 ม.6 หมู่บ้านรุ่งเรืองวิลเลจ ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
เบอร์โทรศัพท์ 032 – 373342 , 084 – 7015032
E-mail protao_cga@hotmail.com หรือ http://www.protao-tatchadaburi.com/
ประวัติการศึกษา
2.ร.ต.อ.มงคล วิลัยเกษม
ประวัติการศึกษา
เกิด 10 ธันวาคม 2550
บิดา – มารดา ร.ต.สุวรรณ - นางสำลี นิ่มนวล
สถานภาพ สมรส มีบุตร 1 คน
ศาสนา พุทธ
ภูมิลำเนา 20/19 ม.6 หมู่บ้านรุ่งเรืองวิลเลจ ต.เจดีย์หัก อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
เบอร์โทรศัพท์ 032 – 373342 , 084 – 7015032
E-mail protao_cga@hotmail.com หรือ http://www.protao-tatchadaburi.com/
ประวัติการศึกษา
- ป.1 – ป.6 โรงเรียนกองทัพบกอุถัมภ์ บูรณวิทยา
- ม.1 – ม.6 วิชาเอกคณิตศาสตร์ – วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
- ปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์การกีฬา พละศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- จบหลักสูตรการสอนกอล์ฟ Class A แห่งชาติ สมาคมกอล์ฟอาชีพแห่งประเทศไทย
- จบหลักสูตรการสอนกอล์ฟนานาชาติ
ประสบการณ์ทำงาน
- ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานนักเรียน โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
- ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานนักเรียน โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
- ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานนิสิต – นักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
- ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนนักกอล์ฟไทย และเอเชีย เข้าร่วมแข่งกอล์ฟกับ Tiger woods
หน้าที่การงานปัจจุบัน - ผู้ฝึกสอนกอล์ฟประจำโรงเรียนสอนกอล์ฟเชาว์รัตน์
- อนุกรรมการพัฒนาเยาวชนภาคกลาง สมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- ผู้ฝึกสอนกอล์ฟ โครงการ Sport Hero
- ผู้ฝึกสอนกอล์ฟของจังหวัดราชบุรี ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
- ผู้ฝึกสอนกอล์ฟของจังหวัดราชบุรี ในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ
- ผู้ฝึกสอนกอล์ฟของจังหวัดราชบุรี ในการแข่งขันกีฬานักเรียนแห่งชาติ
- หัวหน้าโครงการสอนกอล์ฟให้กับเยาวชน
2.ร.ต.อ.มงคล วิลัยเกษม
ประวัติการศึกษา
- อนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
- ประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมหาธาตุวรวิหาร)
- มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
- ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- โรงเรียนตำรวจนครบาล บางเขน กรุงเทพฯ
- โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน กรุงเทพฯ
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพงานสอบสวน จาก สถาบันส่งเสริมงานสอบสวน พ.ศ.2550
- หลักสูตรสารวัตรรุ่นที่ 98 พ.ศ.2552
ประวัติการทำงาน
- พ.ศ. 2540 – 2543 ยศพลตำรวจ ตำแหน่ง ผบ.หมู่ โรงเรียนตำรวจนครบาล
- พ.ศ.2544 ยศสิบตำรวจ ตำแหน่ง ผบ.หมู่ สถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง
- พ.ศ.2545 ยศสิบตำรวจตรี ตำแหน่ง รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจรถไฟ นครราชสีมา
- พ.ศ.2546 ยศร้อยตำรวจ ตำแหน่ง รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจรถไฟ นพวงศ์ กรุงเทพฯ (หัวลำโพง)
- พ.ศ.2547 ยศร้อยตำรวจโท ตำแหน่ง รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจรถไฟ อุบลราชธานี
- พ.ศ.2548 – 2552 ยศร้อยตำรวจเอก ตำแหน่งพนักงานสอบสวน (สบ.1) สถานีตำรวจภูธรจอมบึง จ.ราชบุรี
- พ.ศ.2552 ยศร้อยตำรวจเอก ตำแหน่งรองสารวัตรจราจร สถานีตำรวจภูธรเมืองราชบุรี
จ.ราชบุรี
3.ร้อยตรีหญิงมนนิยา น่วมแหวว ( แน็ท )
เกิด 19 กันยายน 2529 อายุ 23 ปี
บิดา – มารดา จ.ส.อ.พิเศษ ขันโสม ( ช.พัน.602) - นางนิตยา ขันโสม
พี่สาว 1 คน น้องชาย 1 คน
ประวัติการศึกษา
- ประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 โรงเรียนวัดโบสถ์สามเสน กทม.
- ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธีรศาสตร์ ราชบุรี
- ประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ราชบุรี
- มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โรงเยนราชโบริกานุเคราะห์ ราชบุรี
- มัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
- อุดมศึกษาปีที่ 1 – 4 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติการทำงาน
- พยาบาลประจำการ แผนกพยาบาลอุบัติเหตุและเวชกรรมฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก
4.จ่าสิบเอกธีรโชติ ทองทวี ( แจ๊ค)
เกิด 17 มีนาคม 2508
บิดา-มารดา ร.ต.สวัสดิ์ – นางทวี ทองทวี
สถานะภาพ สมรส บุตร 1 คน
ภูมิลำเนา ราชบุรี ที่อยู่ ป.135 ค่ายบุรฉัตร อ.เมือง จ.ราชบุรี โทร. 086 – 1720436
ประวัติการศึกษา
- ป.1 – ป.5 โรงเรียงกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
- ป.6 – ป.7 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดช่องลม
- มศ.1 – มศ.3 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
- นนส.ทบ. โรงเรียนศูนย์การทหารราบ
- นนส.กช. โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
ประสบการณ์ทำงาน
- ปี พ.ศ.2548 ปฏิบัติภารกิจร่วมกับสหประชาชาติในการรักษาสันติภาพ ณ ประเทศบุรุนดี ผลัดที่ 1
ประวัติด้านกีฬา
ปี พ.ศ. 2529 – 2535
- เป็นนักกีฬากรีฑาวิ่งระยะสั้น 100 – 200 เมตร
- เป็นนักกีฬาของกรมทการทหารช่าง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬากองทัพบก
- เป็นนักกีฬาของ จ.ราชบุรี เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
- เป็นนักกีฬาของกกองทัพบก เข้าร่วมการแข่งขันกีฬากองทัพไทย
- เป็นนักกีฬาของประเทศไทย ในปี พ.ศ.2529 เข้าร่วมเก็บตัวฝึกซ้อม ณ ประเทศสาธารณรัฐเยอรมันนี เป็นเวลา 3 เดือน และเข้าร่วมการแข่งขันกรีฑาเยาวชนโลก ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก
5.นางสาวขวัญชีวา พันธุ์ไทย
เกิด 31 มกราคม 2537
ประวัติการศึกษา
- พ.ศ. 2546 – 2548 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
- พ.ศ.2549 – 2511 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา
- ปัจจุบันศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 โรงเรียนราชบุรีบริหารธุรกิจ
ผลงาน
- การสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง ตรี โท เอ เมื่อ พ.ศ.2547
- รองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันวาดภาพระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 เมื่อปี พ.ศ.2548
- รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันร้องเพลงไทยลูกทุ่งเมื่อปี พ.ศ.2548
- ชนะเลิศ การแข่งขันสุนทรพจน์ลดใช้พลังงาน เมื่อปี พ.ศ.2548
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันพูดในที่ชุมชนระดับชมเชย
- ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์โรงเรียนเมื่อปีพ.ศ.2550
- รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันเล่านิทานธรรมมะ ระดับช่วงชั้นที่ 3 เมื่อปีพ.ศ.2550
- รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันเล่านิทานระดับช่วงชั้นที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2550
- เป็นประธานสภานักเรียนเมื่อปี พ.ศ.2550
- เข้าร่วมชุมนุมงานลูกเสือสันติภาพ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2551
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ เมื่อปี พ.ศ.2551
- รางวัลคนดีมีคุณธรรม ภายใต้โครงการเมืองไทยเมืองคนดี จากกรมศาสนา เมื่อปี พ.ศ.2551
- รางวัลคนดีมีคุณธรรม ภายใต้โครงการเมืองไทยเมืองคนดี จากกรมการทหารช่าง เมื่อปี พ.ศ. 2552
- การเข้าร่วมประกวด DJ เยาวชนช้างเผือก วิทยุชุมชนตลาดศรีเมือง
- ลูกทุ่งสเตชั่น FM.90.75 MHz.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)